ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
bulletรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report:SAR) 2558
bulletรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report:SAR) 2559
bulletรายงานการประเมินตนเอง (SELF-ASSESSMENT REPORT : SAR) ประจำปีการศึกษา 2560
bulletรายงานการประเมินตนเอง (SELF-ASSESSMENT REPORT : SAR) ประจำปีการศึกษา 2561
bulletรายงานการประเมินตนเอง (SELF-ASSESSMENT REPORT : SAR) ประจำปีการศึกษา 2562
bulletรายงานการประเมินตนเอง (SELF-ASSESSMENT REPORT : SAR) ประจำปีการศึกษา 2563
bulletรายงานการประเมินตนเอง (SELF-ASSESSMENT REPORT : SAR) ประจำปีการศึกษา 2564
bulletรายงานการประเมินตนเอง (SELF-ASSESSMENT REPORT : SAR) ประจำปีการศึกษา 2566
dot
dot
bulletแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
bulletแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2561
bulletแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2562
bulletแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
bullet แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
bulletแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565
bulletแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
bulletแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
bulletแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568
bulletอนุมัติโครงการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2568
bullet แผนปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2559
dot
dot
bulletข้อมูลพื้นฐาน 9 ประการ ปีการศึกษา 2565
bulletข้อมูลพื้นฐาน 9 ประการ ปีการศึกษา 2566
bulletข้อมูลพื้นฐาน 9 ประการ ปีการศึกษา 2567
bulletข้อมูลพื้นฐาน 9 ประการ ปีการศึกษา 2564
bulletข้อมูล 9 ประการ ปีการศึกษา 2563
bulletข้อมูล 9 ประการ ปีการศึกษา 2562
bulletข้อมูล 9 ประการ ปีการศึกษา 2561
bulletข้อมูล 9 ประการ ปีการศึกษา 2560
bulletข้อมูล 9 ประเภท ปีการศึกษา 2559
bulletข้อมูล 9 ประเภท ปีการศึกษา 2558
bulletข้อมูล 9 ประเภท ปีการศึกษา 2557




ประวัติการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี

 

                             

 ข้อมูลพื้นฐาน

วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี

 

1.ปรัชญา  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  อัตลักษณ์  เอกลักษณ์  ภารกิจหลัก

 

Ø ปรัชญา

       อดทน  แกร่งกล้า  ฝ่าอุปสรรค  รักคุณธรรม

 

Ø วิสัยทัศน์

สร้างแหล่งเรียนรู้ สู่อาชีพที่มั่นคง พัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ลือเลื่องนวัตกรรม ผู้นำด้านเทคโนโลยี

 

Ø พันธกิจ

พันธกิจที่   1   จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับกึ่งฝีมือ ระดับฝีมือระดับเทคนิคและเทคโนโลยี ให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามหลักสูตรมาตรฐานการอาชีวศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

พันธกิจที่   2   ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา ชุมชน สังคม สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพและกลุ่มวิชาชีพในการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถในทางปฏิบัติ และมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพอิสระได้

พันธุกิจที่   3   ดำเนินการพัฒนาบุคลากร และผู้เรียนให้มีการศึกษาวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ เป็นศูนย์กลางเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการ วิชาชีพแก่ชุมชนและท้องถิ่น

พันธกิจที่   4   ดำเนินระดมทรัพยากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ

พันธกิจที่   5   ดำเนินการจัดการอาชีวศึกษาเชิงธุรกิจที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน

พันธกิจที่   6   ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและกิจกรรมเสริมหลักสูตร

พันธกิจที่   7   ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

 

Ø เป้าประสงค์

1.     ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะด้านวิชาชีพตามมาตรฐานสากลโดยหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

2.    ผู้เรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้านสิชาชีพเกษตรและประมง ที่เกิดจากความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถานศึกษา ชุมชน และประชาคมอาเซียน

3.    ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่องค์กรในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

4.    พัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาชีพเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

5.    ส่งเสริมบุคลากรและผู้เรียนในการศึกษาวิจัย นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

6.    พัฒนาระบบเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศของสถานศึกษาให้เป็นมาตรฐานระดับสากล ตามหลักธรรมาภิบาล

7.     สถานศึกษาสร้างโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ชุมชน และผู้ปกครองในการเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพ

8.    สถานศึกษายกระดับความเป็นเลิศทางด้านการศึกษาตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษา

9.    ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อยู่บนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรมในสังคมอย่างมีความสุข

 

Ø อัตลักษณ์

       นักเรียน นักศึกษา มีความขยัน ประหยัด ซื้อสัตย์ มีวินัย อยู่ในกฎระเบียบ รับผิดชอบ สะอาด มีน้ำใจ สามัคคี กตัญญูรู้คุณ และสุภาพอ่อนโยน

 

Ø เอกลักษณ์

       เป็นสถานศึกษาที่เปิดสอน และฝึกอาชีพ ให้มีความเป็นเลิศด้านการเกษตรและประมงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

Ø ภารกิจหลัก

1.     จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือและระดับเทคนิค ให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามหลักสูตรมาตรฐานการอาชีศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

2.    ประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา ชุมชน สังคม สถานประกอบการ สมาคมวิชาชีพ และกลุ่มวิชาชีพในการจัดการอาชีวศึกษาแบะฝึกอบรมวิชาชีพให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ ความสามารถในทางปฏิบัติ และมีสมรรถนะจนสามารถนำไปประกอบอาชีพในลักษณะผู้ปฏิบัติหรือประกอบอาชีพอิสระได้

3.    ดำเนินการพัฒนาบุคลากร และผู้เรียนให้มีการศึกษาวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วนตนเอง รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการ วิชาชีพแก่ชุมชนและท้องถิ่น

4.    ดำเนินการระดมทรัพยากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศในการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ

5.    ดำเนินการจัดการอาชีวศึกษาเชิงธุรกิจที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน

6.    ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและกิจกรรมเสริมหลักสูตร

7.     ปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

 

2. จุดเน้นในการพัฒนาสถานศึกษา และความโดดเด่น

 

จุดเน้นในการพัฒนาของสถานศึกษา

       วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี ได้รับโล่ เนื่องจากจัดการศึกษาระดับ อาชีวศึกษา ได้อย่างมีความคุณภาพดีเยี่ยม จนได้รับรางวัลพระราชทาน 3 ครั้ง ภายใน 10 ปี ปีการศึกษา 2550, 2554 และ 2558 จากกระทรวงศึกษาธิการ

       วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี ได้รับเกียรติบัตรรางวัลพระราชทาน ในโครงการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับ อาชีวศึกษา ขนาด เล็ก ประจำปีการศึกษา 2558 จากกระทรวงศึกษาธิการ

       วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี ได้รับประกาศ“สถานศึกษาพอเพียง” ให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา” ประจำปีการศึกษา 2561 จากกระทรวงศึกษาธิการ

 

ความโดดเด่นของสถานศึกษา (ผลงาน/รางวัล/เกียรติยศ/ชื่อเสียง)

      รางวัลและผลงานของบุคลากรทางการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2565

ชื่อ – สกุล

รายการ

นายทิว  กาสิวุฒิ

รางวัลบุคคลต้นแบบ “คุณธรรม” 4 ประการ ด้านพอเพียง

นางสาวนุสราสินี  ณ พัทลุง

รางวัล “คนดีศรีตานี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

นางชุติมา  ศิลามณีเวช

รางวัลบุคคลต้นแบบ “คุณธรรม” 4 ประการ ด้านวินัย

นางสาวกะตีเยาะ  ครู

รางวัลบุคคลต้นแบบ “คุณธรรม” 4 ประการ ด้านสุจริต

นายมุสตากีม  มะแซ

รางวัลบุคคลต้นแบบ “คุณธรรม” 4 ประการ ด้านจิตอาสา

 

      

3. กลยุทธ์และมาตรการของสถานศึกษา

 

กลยุทธ์ที่ 1

1.    จัดการเรียนการสอนและฝึกอาชีพระยะสั้น ปวช. ปวส. และระดับเทคโนโลยีหรือปฏิบัติการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

2.   จัดทดสอบรายวิชาให้บรรลุตามสมรรถนะของทุกรายวิชา

3.   จัดทดสอบมาตรฐานวิชาชีพระดับชั้น ปวช.3 และ ปวส.2

กลยุทธ์ที่ 2

1.     เรียนร่วมและร่วมมือกับสถานประกอบการ

2.    จัดหางานให้กับผู้สำเร็จการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 3

1.    พัฒนาและเพิ่มศักยภาพของผู้บริหาร ครู บุคลากร นักศึกษา ทางด้านดิจิตอลเพื่อรองรับ Thailand 4.0

2.   สนับสนุนให้ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักศึกษา มีการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ในการพัฒนาการเรียนการสอน

3.   พัฒนาและจัดการเรียนการสอนงานฟาร์มเกษตร ประมง ให้เป็น Smart Farmer

4.   จัดให้ฟาร์มเกษตร ประมง เป็นศูนย์การเรียนรู้วิชาชีพแก่ชุมชนและท้องถิ่น

กลยุทธ์ที่ 4

1.     จัดหาทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา

2.   จัดให้มีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนบุคลากรทางด้านเกษตรและประมงกับหน่วยงานการศึกษาอาชีวศึกษาในประเทศมาเลเซีย

กลยุทธ์ที่ 5

           1. เสริมสร้างความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีในการพัฒนางานฟาร์มให้มีคุณภาพ

กลยุทธ์ที่ 6

1.    ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัย

2.    พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นผู้นำด้วยกิจกรรม อกท.

กลยุทธ์ที่ 7

           1. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิชาชีพของชุมชน

           2. ส่งเสริมให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียน ถ่ายทอดวิทยาการและเทคโนโลยีสู่ชุมชน

          

 

4. ประวัติ   ความเป็นมา   และข้อมูลด้านอาคารสถานที่

วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี

 

4.1 ประวัติ ความเป็นมา ของวิทยาลัยฯ

       วิทยาลัยประมงปัตตานี เป็นสถานศึกษา ที่ได้รับการจัดตั้งโดยความประสงค์ ความต้องการของประชาชน ใน 3  จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี  นราธิวาส และยะลา)  โดยนายพลากร  สุวรรณรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ขอใช้ที่ดิน เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานีและมีประวัติความเป็นมาดังนี้

       ² วันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2536  กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้ง นายวีระศักดิ์  วงษ์สมบัติ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมง สงขลาติณสูลานนท์ เป็นผู้ประสานงานจัดตั้ง วิทยาลัยประมงปัตตานี พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยมีวิทยาลัยการอาชีพปัตตานีเป็นสำนักงานชั่วคราวของวิทยาลัยประมงปัตตานี  โดยกองวิทยาลัยเกษตรกรรม ผู้อำนวยการ บุญชุม เปียแดง  ได้มอบให้วิทยาลัยประมงสงขลาติณสูลานนท์ร่วมกับศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตรบางพูน เป็นผู้สำรวจพื้นที่วางแผนการใช้ที่ดินและจัดทำแผนหลัก งานฟาร์ม

       ² วันที่ 30  พฤษภาคม พ.ศ. 2537 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี  โดยอาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา  25  แห่ง พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2534 จึงให้จัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี  ที่หมู่ที่ 2  ตำบลบางตาวา และหมู่ที่ 7 ตำบลตุยง  อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี   เป็นสถานศึกษา สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม  กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ  โดยนายสังข์ทอง  ศรีธเนศ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

       ² วันที่ 26 พฤศจิกายน  พ.ศ.2539  กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้ง นายชลิต  เฟื่องเรื่อง  ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมราชบุรี ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานีและได้ขอสนับสนุนงบประมาณ งบกลาง ประจำปี 2540 โดยจ่ายตามโครงการพัฒนาจังหวัด และกรุงเทพมหานคร  คือ การสร้างอาคารเรียนชั่วคราว  1,500,000  บาท โดยมีว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์  ภู่พลับ อาจารย์ 2 ระดับ 5 และนายอุดม  จันทรพาหา  อาจารย์ 2 ระดับ 7 มาช่วยปฏิบัติราชการ

       ²วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 กรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งให้นายประภาค ขวัญชัยรัตน์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส    ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี  โดยมีว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์  ภู่พลับ, นายสุรัตน์ชัย  อมรจันทราภรณ์ , นางสาวสมสมัย  พลอินตา และนายพิเสก ส่องสง   เป็นคณะทีมงานช่วยเหลือ

       ²วันที่ 3 มิถุนายน  พ.ศ.2545  กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้ง  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาสทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานีอีกหน้าที่หนึ่งขณะนั้น นายไกรสีห์  ชัยพรหม  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ก็ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี อีกหน้าที่หนึ่ง และได้มอบหมายให้นายปรีชา  เวชศาสตร์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส  ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวิทยาเขตวิทยาลัยประมงปัตตานี  โดยมีนาย  พิเสก  ส่องสง  เป็นอาจารย์ผู้สอนอยู่เพียงคนเดียว  เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอน และดูแลความเป็นวิทยาลัยอยู่

       ²วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2546  กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้งให้นายสุชาติ  พรหมหิตาทร  มาเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส  จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี  อีกหน้าที่หนึ่ง  ตามคำสั่งเดิมของกรมอาชีวศึกษา  และนายสุชาติ   พรหมหิตาทร  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรเทคโนโลยีนราธิวาส  ก็ได้มอบหมายให้นายปรีชา  เวชศาสตร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส     ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวิทยาเขต วิทยาลัยประมงปัตตานี  เช่นเดิม  โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส ได้มอบหมายให้นายพงษ์ศักดิ์ ราชสุวรรณ ตำแหน่งอาจารย์ 1ระดับ5 และนายอนุชาติ บุรีรัตน์  ครูพิเศษจ้างสอน  มาช่วยบริหารจัดการ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนร่วมด้วย

       ²วันที่ 11 กรกฎาคม  พ.ศ. 2546 กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้งให้  นายปรีชา  เวชศาสตร์         ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส  ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี  โดยมีนายพงษ์ศักดิ์  ราชสุวรรณ  และนายอนุชาติ  บุรีรัตน์  ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการ  (ทำหน้าที่ตามคำสั่งภายในของวิทยาลัย)  ทั้ง  3 คน ก็ได้ยึดอาคารเรียนชั่วคราว ทำเป็นสำนักงาน  ทำเป็นห้องเรียน  ห้องครัว  ห้องละหมาด  ห้องสมุด และพักกินนอนอยู่ภายในวิทยาลัยตลอดระยะเวลา และได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.)  ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตร  เพื่อชีวิตได้เต็มรูปแบบและเริ่มแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินอย่างจริงจัง² วันที่  5  สิงหาคม 2546  นายปรีชา  เวชศาสตร์ ได้ผลักดัน โครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี เข้าสู่นโยบายเฉพาะกิจการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อของบประมาณ งบกลาง ปี  2546          (แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ)

       ² วันที่ 4 ธันวาคม  2546 วิทยาลัยประมงปัตตานี  โดย นายปรีชา  เวชศาสตร์ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถานศึกษา ได้ผลักดันโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี เข้าสู่ประเด็น     ยุทธศาสตร์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และธำรงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การส่งเสริมและพัฒนายกระดับการศึกษาในทุกระดับให้ได้มาตามของยุทธศาสตร์จังหวัดปัตตานี

       ² วันที่  11 กุมภาพันธ์  2547 คณะกรรมการที่ปรึกษา วิทยาลัยประมงปัตตานี จำนวน 17 คน  ได้เข้าชื่อยื่นเสนอ ขอจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายวันมูหะมัดนอร์  มะทา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย   พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี  นายอดิศัย  โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายนิกร  จำนง  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

       ² วันที่  22 เมษายน พ.ศ.2547  นายปรีชา  เวชศาสตร์ ได้ผลักดัน โครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี โดยผ่านการทำประชาคม ระดับหมู่บ้าน  ระดับตำบลบางตาวา  ตำบลตุยง  ระดับอำเภอของอำเภอหนองจิกเข้าสู่  เข้าสู่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดปัตตานี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้  (จังหวัดปัตตานี ,จังหวัดนราธิวาส,จังหวัดยะลา)  โดยได้เสนอโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี และ วันที่  22  มิถุนายน 2547  คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี  และได้รับงบประมาณ  งบกลาง  ปี 2547       (วันที่  27  กันยายน  พ.ศ.2547) จำนวน 22,545,200  บาท  ซึ่งได้จัดสรรผ่านหน่วยเบิกของวิทยาลัยการอาชีพปัตตานี  ได้ช่วยเหลือสนับสนุนเป็นหน่วยเบิกจ่ายเงินให้  โดยได้สร้างอาคารศูนย์วิทยบริการ  ระบบน้ำบาดาล ขยายของเขตไฟฟ้า  ปรับปรุงถนนทางเข้า  และครุภัณฑ์ สำนักงาน  ครุภัณฑ์การศึกษา  ครุภัณฑ์ห้องสมุด  ครุภัณฑ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  ครุภัณฑ์แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และครุภัณฑ์ยานพาหนะ    (รถยนต์ขับเคลื่อน  4  ล้อ  จำนวน 1 คัน)  งบบุคลากร งบอุดหนุน โดยมีนายประวิทย์  อ๋องสุวรรณ ตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5  ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการ เป็นผู้ประสานดำเนินการ และมี นายพงษ์ศักดิ์  ราชสุวรรณ  ตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (คำสั่งภายในวิทยาลัย)  และว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์  ภู่พลับ เป็นผู้ร่วมดำเนินการ

       ² วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548  นายปรีชา  เวชศาสตร์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบางแก้วทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี  ได้ทำโครงการจัดตั้งวิทยาลัยประมงปัตตานี  ไปเสนอต่อกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต)  เนื่องจากรัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยน วิธีการทางงบประมาณ  โครงการส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ ระยะที่  2 ของวิทยาลัยประมงปัตตานี ได้ถูกพับไป    เมื่อนายปรีชา  เวชศาสตร์ ชี้แจ้งถึงความจำเป็น ความสำคัญของวิทยาลัยประมงปัตตานี  ทางกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.)  ก็ได้อนุมัติงบประมาณมาให้  25,000,000  บาท  โดยมีงบบุคลากร  งบดำเนินงาน  งบอุดหนุน และงบลงทุน  โดยได้สร้างอาคารเรียน  2  ชั้น 8 ห้องเรียน  2 หลัง  อาคารฝึกอาชีพ 1  ชั้น มีใต้ถุนโล่ง  2  หลัง  อาคารประกอบกิจศาสนา จำนวน 2 หลัง  หอพักนักศึกษาจำนวน  1 หลัง  โรงเพาะฟักสัตว์น้ำกร่อยอีก  1  หลัง  ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์  ครุภัณฑ์สำนักงาน และครุภัณฑ์ยานพาหนะ (รถตู้ 1 คัน , รถกระบะ  1  คัน)   โดยมีว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์    ภู่พลับ    รองผู้อำนวยการสถานศึกษา   เป็นผู้ประสานดำเนินการ  โดยมี นายประวิทย์  อ๋องสุวรรณ และนายวรยุทธ์  ชีวรัตน์  ทำหน้าที่รองผู้อำนวยการ (คำสั่งภายใน)  นางกิตติวรรณ  ชีวรัตน์    นายประพัฒน์  กองแก้ว และบุคลากรของอาชีวศึกษาจังหวัดปัตตานีมาร่วมดำเนินการ

       ²วันที่ 31  สิงหาคม พ.ศ.2547  นายปรีชา  เวชศาสตร์ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี ขอเสนอหน่วยเบิกใหม่ ให้วิทยาลัยประมงปัตตานี โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้อนุมัติ ให้มีรหัสหน่วยงาน  รหัสหน่วยเบิกย่อย และรหัสบัญชีย่อย  ในวันที่  21  ตุลาคม พ.ศ. 2547

       ² วันที่  12  มกราคม  พ.ศ. 2548  นายปรีชา  เวชศาสตร์  ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพบางแก้วทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยประมงปัตตานี ได้เสนอโครงการเพิ่มศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ของวิทยาลัยประมงปัตตานี เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ  จากงบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แบบบูรณาการต่อจังหวัดปัตตานี ก็ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ มาเป็นเงิน  7,772,900  บาท  โดยได้เป็นงบบุคลากร  งบดำเนินงาน  และงบลงทุน  โดยสร้างโรงอาหารอเนกประสงค์  ป้ายวิทยาลัย  ป้อมยาม เสาธงชาติ  ปรับปรุงห้องเป็นห้องเรียนรวมและห้องประชุม   ห้องน้ำ  4 หลัง และครุภัณฑ์ยานพาหนะ    (รถบรรทุก  6 ล้อ  1  คัน)

       ² ปีงบประมาณ 2550  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุน (งบลงทุน) สร้างโรงฝึกอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 1 หลัง  สร้างอาคารบ้านพักครู 6 หน่วย 2 ชั้น 1 หลัง  สร้างบ้านพักผู้บริหาร จำนวน 1 หลัง และครุภัณฑ์ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นเงิน 10,553,000 บาท และชุดกล้องวงจรปิด งบตามโครงการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 900,000 บาท

       ²  นายปรีชา  เวชศาสตร์  ได้ของบกลางปี 2550 ได้งบสร้างฟาร์มตัวอย่าง, ขยายเขตไหห้าแรงต่ำ, สร้างบ้านพักเกษตรกร, สร้างถนนภายใน, ซื้อรถแทรกเตอร์ 1 คัน และสร้างรั้วรอบวิทยาลัย  รวมงบประมาณ เป็นเงิน 14,200,000 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2551 ได้รับการจัดสรรงบภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกลยุทธการเพิ่มศักยภาพสถานศึกษาเฉพาะทางเชื่อมโยงการมีงานทำเพื่อความมั่นคง (วิทยาลัยประมงปัตตานี) เป็นเงิน 8,000,000 บาท และวิทยาลัยได้เสนอโครงการพัฒนาวิทยาลัยประมงปัตตานี เพื่อของบประมาณจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้สร้างบ้านพักนักเรียน นักศึกษา จำนวน 2 หลัง หลังละ 2,300,000 บาท เป็นเงิน 4,600,000 บาท และได้ขอความอนุเคราะห์สถาบันพัฒนาที่ดินจังหวัดปัตตานี ขุดสระเก็บน้ำจืดไว้ใช้เพื่อการเกษตร จำนวน 16 ไร่ เป็นเงิน 2,617,000 บาท และได้รับการจัดสรรทุนสร้างอาคารจำหน่ายผลผลิตของนักเรียน นักศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,228,500 บาท² ปีงบประมาณ 2552 ได้รับจัดสรรงบลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นรายการปรับปรุงถนนภายในฟาร์มตัวอย่าง เป็นเงิน 5,000,000 บาท ครุภัณฑ์ชุดมัลติมีเดีย เป็นเงิน 1,850,000 บาท      

       ² ปีงบประมาณ 2553 ได้รับงบเงินกู้ (SP:2) โครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะ 2 สร้างอาคารเรียนปฏิบัติการพื้นที่ 1,920 ตารางเซนติเมตร  งบประมาณ 15,360,000 บาท และขอสนับสนุนระบบน้ำเพื่อใช้ในฟาร์มเกษตรผสมผสานจากโครงการชลประทานปัตตานี กรมชลประทาน งบประมาณ 10,000,000 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2554 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดสรรงบประมาณ (งบลงทุน) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ในการปรับปรุงอาคารโรงเรือน งบประมาณ 5,880,000 บาท และค่าขยายขอบเขตไฟฟ้าแรงต่ำภายในแปลงเกษตรผสมผสาน  งบประมาณ 1,800,000 บาท

       ² สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดวิทยาลัยประมงปัตตานี วันพุธ ที่ 12 มกราคม 2554   ณ วิทยาลัยประมงปัตตานี จังหวัดปัตตานี เวลา 11.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากโรงพยาบาลปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี ไปยังวิทยาลัยประมงปัตตานี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางนริศรา  ชวาลตันพิพัทธ์ ทูลเกล้าฯ ถวายพวงมาลัย  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเข้าพลับพลา   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมา ของวิทยาลัยประมงปัตตานี

       ² ปีงบประมาณ 2555 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (งบลงทุน) ครุภัณฑ์รถบริการส่งเสริมการเกษตรเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 คัน งบประมาณ 850,000 บาท ค่าสร้างสนามฟุตซอล พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ จำนวน 1 รายการ งบประมาณ 1,993,000 บาท     

       ² ปีงบประมาณ 2556 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (งบลงทุนสิ่งก่อสร้าง) เพื่อปรับปรุงอาคารเรียนศูนย์การเรียนรู้วิชาชีพ อำเภอยะหริ่ง งบประมาณ 499,995.16 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2557 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (งบครุภัณฑ์) เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อดำเนินงานตามโครงการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 500,000 บาท และงบที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อปรับปรุงถนนภายในฟาร์มเกษตร ตามโครงการขยายโอกาสและพัฒนาคุณภาพการศึกษา งบประมาณ 3,000,000 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2558 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ (งบลงทุน) ปรับปรุงอาคาร งบประมาณ 1,196,400 บาท ปรับปรุงไฟฟ้า งบประมาณ 1,199,900 บาท ปรับปรุงประปา งบประมาณ 1,244,900 บาท ปรับปรุงโรงงานฟาร์ม งบประมาณ 1,497,600 บาท และปรับปรุงห้องน้ำ-ห้องส้วม งบประมาณ 1,126,500 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2559 ได้รับการจัดสรรงบประมาณมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2559 คือ 1.ปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ งบประมาณ 468,000 บาท   2.ปรับปรุงอาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ งบประมาณ 499,000 บาท 3.ปรับปรุงป้ายชื่อวิทยาลัยฯ งบประมาณ 450,000 บาท 4.ปรับปรุงถนนทางเข้าหอพักนักศึกษา งบประมาณ 990,000 บาท         5.ปรับปรุงหอพักนักศึกษา งบประมาณ 999,000 บาท  (งบลงทุน) ก่อสร้างสนามกีฬา วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี งบประมาณ 4,915,000 บาท (งบครุภัณฑ์) 1.ชุดครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ งบประมาณ 805,100 บาท 2.รถบรรทุก (ดีเซล) ขนาด 1 ตัน ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 2,400 ซีซี ขับเคลื่อน 2 ล้อ แบบดับเบิ้ลแค็บ งบประมาณ 787,000 บาท 3.เครื่องรับส่งวิทยุระบบ HF/SSB ชนิดประจำที่ 100 วัตต์ งบประมาณ 70,000 บาท 4.เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ค สำหรับงานสำนักงาน งบประมาณ 17,000 บาท 5.โทรทัศน์ แอล อี ดี (LED TV) ระดับความละเอียดจอภาพ 1920x1080 พิกเซล ขนาด 40 นิ้ว งบประมาณ 17,000 บาท 6.เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ XGA ขนาดไม่น้อยกว่า 3,500 ANSI Lumen งบประมาณ 39,000 บาท 7.จอภาพชนิดมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเส้นทแยงมุม 180 นิ้ว งบประมาณ 32,000 บาท 8. กล้องวงจรปิด (CCTV ) พร้อมอุปปกรณ์และติดตั้ง 16 กล้อง งบประมาณ 298,000 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2560 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2560 คือ (งบลงทุน) อาหารหอพักนักเรียน นักศึกษา ขนาด 15 ห้อง 2 ชั้น งบประมาณ 6,500,000 บาท และ (งบครุภัณฑ์) เครื่องสูบน้ำแบบท่อพญานาค (ท่อสูบน้ำพญานาค) จำนวน 8 เครื่อง งบประมาณ 680,000 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2561 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2561 คือ (งบลงทุน) ค่าครุภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับงานสำนักงาน (ศูนย์ฯยะหริ่ง) จำนวน 20 เครื่อง งบประมาณ 320,000 บาท เครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับงานสำนักงาน (วิทยาลัยฯ) จำนวน 20 เครื่อง งบประมาณ 320,000 บาท เครื่องฉายภาพ 3 มิติ จำนวน 2 เครื่อง งบประมาณ 48,000 บาท เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดตั้งพื้นหรือชนิดแขวน ขนาด 50,000 บีทียู จำนวน 2 เครื่อง งบประมาณ 114,000 บาท เครื่องพิมพ์ Multifunction แบบฉีดหมึก จำนวน 2 เครื่อง งบประมาณ 15,800 บาท สว่านเจาะไฟฟ้าชนิดแท่น จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 8,000 บาท เครื่องกลึงโลหะขนาดเล็ก จำนวน 2 เครื่อง งบประมาณ 45,000 บาท เลื่อยไฟฟ้า จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 5,600 บาท เครื่องตัดหญ้า 4 จังหวะ จำนวน 10 เครื่อง งบประมาณ 80,000 บาท เครื่องตัดไฟเบอร์ จำนวน 2 เครื่อง งบประมาณ 16,000 บาท เครื่องฉลุไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง งบประมาณ 11,000 บาท สิ่งก่อสร้าง ได้แก่ อาคารศูนย์วิทยบริการ (ศูนย์ยะหริ่ง) จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 12,697,700 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2561 จัดตั้งวิทยาเขต วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในพื้นที่บ้านกรงอิตำ หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เนื้อที่ประมาณ 345 ไร่ 60 ตารางวา

       ² ปีงบประมาณ 2562 ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้ค สำหรับงานสำนักงาน (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 16,000 บาท เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดตั้งพื้นหรือชนิดแขวน ขนาด 13,000 บีทียู (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 22,700 บาท  เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์หรือชนิด LED ขาวดำ ฯ (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 7,900 บาท เครื่องถ่ายเอกสารระบบดิติตอล (ขาว-ดำ) ความเร็ว 10 แผ่นต่อนาที (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 50,000 บาท โต๊ะประชุมพร้อมเก้าอี้ (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 ชุด งบประมาณ 50,000 บาท ถังน้ำแบบสแตนเลส ขนาดความจุ 1,000 ลิตร (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 ใบ งบประมาณ 8,700 บาท ตู้เอกสารบานเปิดคู่ (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 2 ตู้ งบประมาณ 14,000 บาท เครื่องดูดฝุ่นขนาด 15 ลิตร (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 13,000 บาท เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แบบที่ 2 (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 350,000 บาท เครื่องเจาะกระดาษและเข้าเล่ม แบบเจาะกระดาษและเข้าเล่มมือโยก (ศูนย์ฯ ยะหริ่ง) จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 12,000 บาท และงบลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้แก่ อาคารเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 2,425,000 บาท

       ² วันที่ 16 มิถุนายน  พ.ศ. 2563 กรมอาชีวศึกษา ได้แต่งตั้งให้  นายทิว  กาสิวุฒิ  ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพรามัน  ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี และได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้แก่ อาคารเรียนและปฏิบัติการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร 1,500 ตารางเมตร จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 18,000,300 บาท และได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายอื่น ได้แก่ กิจกรรมผลิตแรงงานและสร้างผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม จำนวน 1 กิจกรรม งบประมาณ 4,528,000 บาท

 

       ² ปีงบประมาณ 2564 วิทยาลัยฯ ได้เสนอโครงการย่อยภายใต้ข้อเสนอโครงการภายใต้แผนงานหรือโครงการบัญชีแนบตามบัญชีท้าย พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (งบโควิด) งบประมาณ 903,700 บาท และได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ได้แก่ ถังอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก จำนวน 8 ถัง งบประมาณ 32,000 บาท

       ² ปีงบประมาณ 2565 ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564       งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ได้แก่ รถขุด ขนาด 5.2 ตัน จำนวน 1 คัน งบประมาณ 1,555,000 บาท

² ปีงบประมาณ 2566 ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566       งบลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ได้แก่ ลานกีฬาอเนกประสงค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี จำนวน 1 รายการ งบประมาณ 9,911,200 บาท

 

4.2 ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

    ชื่อสถานศึกษา    วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี

    ชื่อภาษาอังกฤษ   Pattani  Fisheries  and  Agriculture  Technological  College  

    ที่ตั้งสถานศึกษา   เลขที่ - หมู่ที่ 2 ถนนเพชรเกษม ตำบลบางตาวา  อำเภอหนองจิก  รหัส 94170

    โทรศัพท์   โทร 0-7342-0477

    โทรสาร   โทร 0-7342-0477

    เว็บไซต์   http://www.pfc.ac.th

    อีเมล์     saraban@pfc.ac.th

    เนื้อที่ของสถานศึกษา

    326   ไร่    4    งาน    92.8    ตารางวา

    มีอาคาร  รวมทั้งสิ้น   41   หลัง   มีห้องทั้งสิ้น   63    ห้อง  ได้แก่

1.     อาคารเรียน (2 ชั้น)                               จำนวน    2   หลัง     16  ห้อง

2.    อาคารฝึกอาชีพ (2 ชั้น)                           จำนวน    1   หลัง     8    ห้อง

3.    อาคารฝึกอบรม (2 ชั้น)                           จำนวน    1   หลัง     8    ห้อง

4.    อาคารเรียนและปฏิบัติการ (4 ชั้น)                  จำนวน    1   หลัง     14  ห้อง

5.    อาคารศูนย์วิทยบริการ (2 ชั้น)                     จำนวน    1   หลัง     -    ห้อง

6.    อาคารโรงฝึกงาน (อาคารแปรรูปฯ 1.5 ชั้น)          จำนวน    1   หลัง     2    ห้อง

7.     อาคารโรงอาหารเอนกประสงค์                     จำนวน    1   หลัง     -    ห้อง

8.    อาคารประกอบกิจศาสนา                          จำนวน    2   หลัง     -    ห้อง

9.    อาคารจำหน่ายผลผลิตนักเรียนนักศึกษา             จำนวน    1   หลัง     -    ห้อง

10.  อาคารบ้านพักผู้บริหาร                            จำนวน    1   หลัง     -    ห้อง

11.   บ้านพักครู 2 ชั้น                                 จำนวน    2   หลัง     -    ห้อง

12.  บ้านพักครู                                       จำนวน    9   หลัง     -    ห้อง

13.  บ้านพักบุคลากร                                  จำนวน    3   หลัง     -    ห้อง

14.  อาคารปฏิบัติการอเนกประสงค์(ทายาทธุรกิจประมง)    จำนวน    1   หลัง     -    ห้อง

15.  อาคารอเนกประสงค์ (จิตรลดา)                    จำนวน    1   หลัง     -    ห้อง

16.  อาคารอเนกประสงค์ (เศรษฐกิจพอเพียง)             จำนวน    1   หลัง     -    ห้อง

17.   อาคารหอพักนักเรียนนักศึกษา (2 ชั้น)               จำนวน     1 หลัง     15   ห้อง

18.  อาคารหอนอนนักศึกษาชาย 1                      จำนวน     1 หลัง     -    ห้อง

19.  อาคารหอนอนนักศึกษาชาย 2                      จำนวน     1 หลัง     -    ห้อง

20. อาคารหอนอนนักศึกษาชาย 3                      จำนวน     1 หลัง     -    ห้อง

21.  อาคารหอนอนนักศึกษาหญิง 1                      จำนวน     1 หลัง     -    ห้อง

22. อาคารหอนอนนักศึกษาหญิง 2                     จำนวน     1 หลัง     -    ห้อง

23. อาคารหอนอนนักศึกษาหญิง 3                     จำนวน     1 หลัง     -    ห้อง

24. โรงเพาะฟักสัตว์น้ำ                                จำนวน     2 หลัง     -    ห้อง

25. ศาลาอเนกประสงค์                               จำนวน     4 หลัง     -    ห้อง

26. อาคารเรียนและปฏิบัติการแปรรูปอุตสาหกรรมเกษตร  จำนวน     1 หลัง     -    ห้อง

   

 

 

เพลงของสถานศึกษา

เพลงมาร์ชวิทยาลัย

 

       ณ ฝั่งมหานทีที่ไพศาล                       ประดุจบ้านหลังใหญ่ในแดนใต้

สมานฉันท์ร่วมกันด้วยเกียรติเกรียงไกร               เราวิทยาลัยประมงปัตตานี

ก้าวทันยุค สนุกกับการเรียนรู้                       หมายมนู ชูเชิดเกิดสุขขี

อดทน แกร่งกล้า สามัคคี                          มิตรไมตรีน้องพี่สุขสราญ

       มาเถิดมา.....เอ้ามาลูกประมง                 เร่งดำรงยุติธรรมมั่นห้าวหาญ

สู้ สู้ สู้ รู้ชอบกอปรการงาน                        ปณิธานยึดถือลงมือทำ

วิทยาลัยประมงปัตตานีนี้                           คือศักดิ์ศรี ถิ่นรักประจักษ์ล้ำ

เขียวเหลืองเรืองสง่าดุจฟ้างาม                      คลื่นทะเลย้ำทำเพื่อปวงชน

       เบื้องหน้ามหานทีใหญ่                       ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ไทยเทิดไว้สูงล้น

เรามุ่งมั่น ปัญญาสู่สากล                           เพื่อปวงชนเข้มแข็งยั่งยืนเจริญ

 

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
จัดทำโดย งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายบริหารทรัพยากร วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี หมู่ 2 ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170 โทร.0-7332-1072 โทรสาร 0-7332-1071 WEBMASTER E-mail: saraban@pfc.ac.th